Nephro2

      ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่ได้รักษาด้วยการฟอกเลือด ควรได้รับโปรตีนต่ำกว่าคนปกติ คนที่เป็นโรคนี้คงรู้ดี โดยมีข้อแนะนำให้อยู่ระหว่าง 0.6-0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น เพื่อให้ไตส่วนที่เหลือได้ทำงานลดลงและเกิดของเสียน้อยลง โดยเลือกทานโปรตีนที่มีคุณภาพดี ควรหลีกเลี่ยงโปรตีนที่มีคุณภาพต่ำ เนื่องจากไตต้องทำงานหนักในการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย เช่น ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ เป็นต้น

    เพื่อสุขภาพที่ดีของผู้ป่วย ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยควรจะทราบเกี่ยวกับการเลือกทานอาหาร วันนี้เรามี อาหารที่ควรเลือก และ อาหารที่ควรเลี่ยง สำหับผู้ป่วยโรคไตที่ยังไม่ได้รับการฟอกไต

การคำนวนการบริโภคโปรตีนต่อวัน

ต้องคำนวณจากน้ำหนักตัวที่น่าจะเป็น (กก.) X ระดับกรัมโปรตีนที่แพทย์กำหนด
วิธีการคำนวณน้ำหนักตัวที่น่าจะเป็น
ส่วนสูง = (ซม.) – 100  ในเพศชาย
ส่วนสูง = (ซม.) – 105  ในเพศหญิง
ปริมาณโปรตีนที่ควรบริโภคตามน้ำหนักตัว
น้ำหนักตัว       จำกัดโปรตีนต่ำ       จำกัดโปรตีนต่ำมาก
(กก.)           (กรัมโปรตีน/วัน)       (กรัมโปรตีน/วัน)
40                 24 – 32                   12   – 16
45                 27 – 36                   13.5 – 18
50                 30 – 40                   15    – 20
55                 33 – 44                   16.5  – 22
60                 36 – 48                   18 –   24
– โปรตีนที่ควรเลือกทาน – ปลาทู ปลาทะเล ไข่ขาว ปลา กุ้ง หมู ไก่

– โปรตีนที่ควรหลีกเลี่ยง – ถั่ว ธัญพืช เต้าหู้ เครื่องในสัตว์ นม ไส้กรอก

– น้ำมันที่ควรเลือก – น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือ น้ำมันดอกทานตะวัน

– น้ำมันที่ควรเลี่ยง – น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว

– ควรเลี่ยงไขมันชนิดทรานส์ที่แฝงในอาหาร เช่น เนยเทียม มาการีน เบเกอรี่ต่างๆ

– ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง ได้แก่ ไข่แดง  นม และผลิตภัณฑ์จากนม ถั่วเมล็ดแห้ง  เบียร์ เบเกอรี่  ช็อคโกแลต ชา กาแฟ น้ำอัดลมที่มีสีเข้มควบคู่กับการกินอาหารที่มีแคลเซียมเพียงพอ

– โปแตสเซียมเป็นเกลือแร่ที่จำเป็น แต่เมื่อไตทำงานลดลงทำให้ร่างกายไม่สามารถขับโปแตสเซียมออกได้ ทำให้มีระดับโปแตสเซียมในเลือดสูง อาจนำไปสู่อาการกล้ามเนื้อหัวใจเต้นผิดปกติ หรือหยุดเต้นได้
ปริมาณโซเดียมที่ควรบริโภคใน 1 วัน = 2,000 มิลลิกรัม

– ผักที่มีโปแตสเซียมต่ำถึงปานกลาง – ถั่วลันเตา ผักกาดหอม ผักกาดหอม มะเขือเปราะ บวบ มะระ หอมใหญ่ หัวไชเท้า ผักบุ้ง แตงกวา

– ผักที่มีโปแตสเซียมสูง ควรเลี่ยง – กวางตุ้ง หัวปลี ดอกกะหล่ำ บร็อคโคลี ขึ้นฉ่าย แครอท หน่อไม้ฝรั่ง ฟักทอง มันฝรั่ง

– ผลไม้ที่มีโปแตสเซียมต่ำถึงปานกลาง – แอปเปิ้ล ส้มเขียวหวาน ชมพู่ มังคุด สับปะรด แตงโม ส้มโอ
– ผลไม้ที่มีโปแตสเซียมสูง ควรเลี่ยง – กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง แก้วมังกร ลูกพรุน แคนตาลูป ลำไย ขนุน ทุเรียน มะขามหวาน

– น้ำ ก็ต้องจำกัดน้ำ เนื่องจากความสามารถในการขับปัสสาวะของผู้เป็นโรคไตเรื้อรังจะลดลงทำให้มีอาการบวมน้ำ และมีความดันโลหิตสูงขึ้น ถ้ามีอาการบวมน้ำ ให้ดื่มน้ำไม่ควรเกินวันละ 750 –1,000 ซีซี หรือ 3 – 4  แก้วต่อวัน

 

ขอบคุณ :  กลุ่มงานโภชนวิทยา โรงบาลราชวิถี