หากกล่าวถึงยาสามัญประจำบ้าน หลายคนคงนึกถึง ยาแอสไพริน (Aspirin) แก้ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เป็นยาที่มีการใช้ในวงการแพทย์เป็นเวลานาน และจนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีการใช้กันอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันได้ถูกนำมาใช้เป็นยาป้องกันการจับตัวของเกล็ดเลือด เพื่อลดภาวะอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองและหัวใจ (โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจ) หลายคนคงตกใจว่า ยาแอสไพริน (Aspirin) นี่สามารถช่วยโรคหัวใจวาย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงได้จริงหรือ ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก ที่ไปที่มาของ ยาแอสไพริน (Aspirin) ว่าทำไมถึงสามารถช่วยโรคหัวใจวาย โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงได้
ยาแอสไพรินมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
ยาแอสไพรินจะทำการยับยั้งเอนไซม์ ชื่อ Cyclooxygenase ซึ่งเป็นเอนไซม์ ที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์สาร Prostaglandin และ Thromboxane ที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของเนื้อเยื่อในร่างกาย กระบวนการดังกล่าวจะส่งผลให้การอักเสบและอาการไข้ของร่างกายลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลยับยั้งการรวมตัวของเกล็ดเลือด จึงช่วยยับยั้งการอุดตันของหลอดเลือดได้ด้วย
ยาแอสไพรินมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาแอสไพริน มีรูปแบบการจัดจำหน่าย คือ ยาเม็ดขนาดความแรง 60, 81, 162, 300 มิลลิกรัม
ยาแอสไพรินมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ยาแอสไพริน ในขนาดรับประทานสำหรับการป้องกันภาวะหัวใจล้มเหลว และภาวะอุดตันของหลอดเลือด แพทย์จะสั่งจ่ายยาในขนาดที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายไป โดยปกติมักจะได้ รับคำสั่งแพทย์ให้รับประทานยา 1 เม็ดต่อวัน
ข้อสำคัญในการกินยาแอสไพริน เพื่อลดการระคายเคืองและการเกิดแผลต่อกระเพาะอาหาร ให้กินยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือของเภสัชกร ซึ่งโดยทั่วไป คือ กินยาหลังอาหารทัน ทีร่วมกับดื่มน้ำสะอาด 1 แก้ว เพื่อเพิ่มการดูดซึมยาให้ได้รวดเร็วขึ้น หากเป็นสุภาพสตรี อยู่ในภาวะตั้งครรภ์ หรือ กำลังให้นมบุตร ห้ามรับประทานยาเด็ดขาด เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรก และเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อทารกได้ค่ะ
มีข้อควรระวังการใช้ยาแอสไพรินอย่างไร?
ข้อควรระวังในการใช้ยาแอสไพริน คือ การเกิดภาวะเลือดออกในเนื้อเยื่อ/อวัยวะต่างๆ ซึ่งได้แก่
- ห้ามใช้ยาฯ กับหญิงตั้งครรภ์และหญิงที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เพราะอาจส่งผลให้เกิดภา วะเลือดออกในทารกได้
- ห้ามใช้ยากับเด็กทารก
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้
- ห้ามใช้ยากับผู้ที่เป็นโรคไข้เลือดออก หรือผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะตกเลือด
- ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยโรคไตชนิดไตวายเรื้อรัง (Chronic Renal Insufficiency)
- ระวังการใช้ยากับผู้ป่วยด้วยโรคตับ
- ระวังการใช้ยากับผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
- การใช้ยาในเด็กต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้น
ยาแอสไพรินมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ปฏิกิริยาระหว่างยา ของยาแอสไพรินกับยาตัวอื่นๆ คือ
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่ใช้ดูดซับพิษในกระเพาะ ลำไส้ อาจทำให้การดูดซึมของยาแอสไพรินเข้าสู่ร่างกายลดน้อยลง ยาดังกล่าว เช่น Activated Charcoal
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะทำให้การดูดซึมยาแอสไพรินลดลง จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน ยาที่มีฤทธิ์เป็นด่างดังกล่าว เช่น กลุ่มยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
- การใช้ยาแอสไพรินร่วมกับ ยาต้านการอักเสบบางกลุ่มก็สามารถลดการดูดซึมของยาแอสไพรินได้เช่นเดียวกัน ยาดังกล่าว เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Corticosteroids)
จากงานแถลงข่าวของหน่วยงานปฏิบัติการป้องกันโรคของอเมริกา ที่ได้ออกคำแนะนำให้กินยาแอสไพรินประจำ เพื่อป้องกันมะเร็งโรคหนึ่ง รายงานนั้นยังตีความหมายว่า ยาแอสไพรินยังมีสรรพคุณใหญ่ที่คนอาจจะมองข้ามไปอยู่อีก ในการต่อต้านมะเร็งของลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง แต่ขณะเดียวกันก็มีการออกรายงานโจมตีแพทย์ที่แนะนำให้กินยาแอสไพรินประจำว่า มันอาจจะก่อให้เกิดตกเลือดในกระเพาะและอัมพาต เพราะเส้นเลือดในสมองแตกได้
เป็นอย่างไรบ้างค่ะ กับเรื่องราวของยาแอสไพริน ที่นำมาฝาก… คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อย แต่อย่างไรแล้ว การใช้ ยาแอสไพริน (Aspirin) ก็ควรเป็นไปตามคำสั่งแพทย์หรือเภสัชกรแนะนำด้วยนะค่ะ
Leave A Comment